นก
นกแก็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthracoceros albirostris
ลักษณะ : เป็น 1 ใน 4 ชนิดของนกเงือกที่พบตัวได้บ่อยที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะลำตัวสีดำ อกตอนล่างและท้องมีสีขาว รอบตาและมุมปากเป็นหนังสีขาว ปาก และโหนกใหญ่ มีสีขาวงาช้างถึงเหลืองอ่อน ขณะบินเห็นปีกดำขอบขาวจากด่านล่าง ใต้หางดำ ปลายหางขาว ตัวผู้มีแต้มสีดำด้านหน้าของโหนก ส่วนตัวเมียโหนกเล็กกว่า โหนกและ ปลายปากแต้มดำ โคนปากดำและน้ำตาลแดง เสียงร้อง แหลมและดัง "แก๊ก-แก๊ก-แก๊ก" จนเป็นที่มาของชื่อ
บริเวณที่พบ : พบได้ทั้งป่าดงดิบและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ที่ราบถึงความสูง 1,400 เมตร
นกกก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buceros bicornis
ลักษณะ : มีชื่อเรียกอีกว่า "นกกะวะ" หรือ "นกฮัง" เป็นนกเงือกขนาดใหญ่ที่สามารถพบได้บ่อย ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปากและโหนกใหญ่สีเหลือง หน้าดำ คอขาวหรือขาวแกมเหลือง อกและลำตัว ด้านบนดำ ปีกดำมีแถบสีเหลืองพาดกลางปีก ขอบขนปีกบินมีสีขาว หางขาวคาดดำ ตัวผู้ด้านหน้าของโหนกมีสีดำ ตาสีแดง ส่วนตัวเมียโหนกไม่มีสีดำ ตาสีขาว วงรอบตาแดง เสียงร้อง ดัง กก กก กก หรือ กาฮังๆๆ หรือ กะวะๆๆ จนเป็นที่มาของชื่อ
บริเวณที่พบ : ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา หรือป่าเบญจพรรณ
นกเงือกกรามช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhyticeros undulatus
ลักษณะ : เป็นนกเงือกที่มีขนาดเล็กกว่านกกกเล็กน้อย พบได้ไม่บ่อยนัก ลักษณะมีโหนกเตี้ยเป็นลอนหยักบริเวณด้านบนของปาก ปากด้านข้างเป็นรอยหยัก ทั้งสองเพศต่างกัน เพศผู้มีถุงใต้คอสีเหลืองขีดดำสองข้าง เพศเมียมีถุงใต้คอสีฟ้า ลำตัวสีดำ หางมีสีขาว เสียง ร้องดัง เอิก-เอิ๊ก เอิก-เอิ๊ก
บริเวณที่พบ : ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงที่สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่อาจพบได้ ในป่าเบญจพรรณด้วย
นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anorrhinus austeni
ลักษณะ : เป็นนกเงือกชนิดที่พบตัวยากที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะโหนกเล็ก ปากและโหนกสีน้ำตาลแกมเหลือง หนังรอบตาสีฟ้า ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่าง สีน้ำตาลแกมส้ม ปลายปีกแต้มขาว หางสีน้ำตาลปลายหางสีขาว ตัวผู้คอและอกตอนบน ขาว ส่วนตัวเมียคอและอกสีน้ำตาล เสียงร้องแหลมและดัง "แอ๊-แอ๊ว หรือ แว้ว-แว้ว" อาศัย อยู่กันรวมกันเป็นฝูงเล็กๆ
บริเวณที่พบ : ป่าระดับใต้เรือนยอด ทั้งป่าดงดิบและป่าผลัดใบ
นกแขกเต้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psittacula alexandri
ลักษณะ : เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง มีลักษณะหัวเทา หน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง คาง คอ และข้างแก้มดำเป็นแถบ ลำตัวบนเขียว อกชมพูแกมแดง ท้องเขียวแกมฟ้า ตัวผู้ปากบนแดงสด ปากล่างดำ ส่วนตัวเมียปากดำ มีเสียงร้องแหลม "แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก" หลายจังหวะและสำเนียง พบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ และ สวนสาธารณะ อาหารหลักได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ และยอดไม้ ชอบอยู่รวมกันเป็น ฝูงใหญ่
บริเวณที่พบ : ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงที่สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่อาจพบได้ ในป่าเบญจพรรณด้วย
นกกระเต็นลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lacedo pulchella
ลักษณะ : เป็นนกที่พบได้ไม่บ่อยนักในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีลักษณะ ปากแดงสด หางยาว ตัวผู้จะมีหัวน้ำตาลเข้ม อกและท้องน้ำตาลแดงแกมเหลือง คอและกลางท้องขาว กระหม่อม หลัง และหางเป็นลายขวางสีดำสลับฟ้าสด ส่วนตัวเมีย บริเวณหัว หลัง และหาง เป็นลายขวางสีน้ำตาลสลับกัน ลำตัวด้านล่างขาว อกและข้างลำตัวมีลายเกล็ดสีดำ ชอบ อาศัยอยู่ในป่า มากกว่าแหล่งน้ำ เกาะนิ่ง ๆ เงียบ ๆ คอยมองหาหนอน แมลง หรือสัตว์เลื้อย คลานขนาดเล็ก เพื่อจับกินเป็นอาหาร
บริเวณที่พบ : ป่าดงดิบและป่าผลัดใบ ที่ราบถึงความสูง 1,000 เมตร
นกพญาปากกว้างหางยาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lacedo pulchella
ลักษณะ : หัวดำคล้ายใส่หมวกกันน็อกดูน่ารัก มีแต้มเหลืองข้างท้ายทอย หน้าและคอเหลือง ปากเหลืองแกมเขียว ขนลำตัวเขียว ขนปีกบินแกมสีฟ้า มีแถบกลมสีขาวที่ปีกเห็นชัดขณะบิน หางสีฟ้าสด เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
บริเวณที่พบ : พบได้ทั่วไปบริเวณชายป่า ป่าดงดิบ ตั้งแต่ที่ราบไปจนถึงยอดสูง 2,000 เมตร
นกสาลิกาเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissa chinensis
ลักษณะ : นกสาลิกาเขียวเป็นนกในวงศ์นกกา (Corvidae) มีปากหนาสีแดงสด วงรอบตา สีแดงและมีแถบสีดำคาดเหมือนหน้ากาก บริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเหลือง ลำตัวด้านบน สีเขียวสด ใต้ท้องสีเขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัวไหล่เป็นสีเขียว ปลายปีกเป็นสีแดงเข้ม และตอนในของขนกลางปีกมีแถบสีดำสลับขาว ขาสีแดงสด ใต้หางมีสีดำสลับขาว และส่วน ปลายหางจะเป็นสีขาว
บริเวณที่พบ : พบได้ทั่วไป
นกขุนแผนอกส้ม
ลักษณะ : มีอกสีส้ม ไล่ลงไปเป็นสีเหลืองที่ก้น หัวสีเขียวไพล หลังและขนคลุมบนหางสีน้ำตาลแดง เพศผู้มีลายขาวสลับดำที่ปีก ส่วนเพศเมียมีลายสีดำสลับน้ำตาลอ่อน และมีหัวสีเขียวอมน้ำตาลมากกว่าเพศผู้ นกขุนแผนอกสีส้มเป็นนกขุนแผนที่พบมากที่สุดในประเทศไทย มักเกาะสูง
บริเวณที่พบ : ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงความสูง 1,100 เมตร
ขอบคุณภาพจาก
Phanakorn Kraomklang
รักษ์เขาใหญ่
Phanakorn Kraomklang
รักษ์เขาใหญ่