อิ่มอกอิ่มใจ
อิ่มอกอิ่มใจ
ผู้หญิง

“อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีความสําคัญเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage Site) และอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park) พื้นที่ 2,168 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย สระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ในอุทยานประกอบด้วยทุ่งหญ้ากว้าง และป่าอันอุดมสมบูรณ์ ทั้ง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่ารุ่นสอง ซึ่งเป็นแหล่งอาศัย ของทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่านานาชนิด

เขาใหญ่ ต้นกำเนิดลำตะคอง
สายน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวนครราชสีมา

“แม่น้ำลําตะคอง” หรือ “ลําตะคอง” มีต้นกําเนิดอยู่ระหว่างเขาฟ้าผ่า ในเขตอําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และเขาฝาละมี ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของทิวเขาดงพญาเย็นและทิวเขาสันกําแพงในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยบริเวณ ลุ่มนํ้าลำตะคอง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางราว 200-300 เมตร มีพื้นที่ 3,874 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6อําเภอของจังหวัดนครราชสีมาลําตะคองช่วงตอนต้น เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดนครนายก โดยลําาตะคองจะไหลขึ้นไป ทางเหนือผ่านอําาเภอปากช่อง และไหลวกไปทางตะวันออกผ่านอําเภอสีคิ้ว อําเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อําเภอเมืองนครราชสีมา ก่อนที่จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ตําบลท่าช้าง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทาง 243 กิโลเมตร โดยมี พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,518 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณ ปีละ 510 ล้านลูกบาศก์เมตร

เจ้าพ่อเขาใหญ่ ตํานานระบุว่ามีนามเดิมว่า นายจ่าง นิสัยสัตย์ หรือ “ปลัดจ่าง” เป็นชาวนครนายก รับราชการตำแหน่งปลัดประจํากองทัพ ทําหน้าที่ดูแลหัวเมืองด้านทิศบูรพา และเคยผ่าน สมรภูมิสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างโชกโชน โดยเป็นผู้มีบุคลิกลักษณะสง่างาม สมชายชาตินักรบ อีกทั้งยังเป็นผู้มีน้ำใจและมีความโอบอ้อมอารี โดยทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ท่านมักจะออกเยี่ยมเยือนเหล่าบรรดาลูกน้องเก่าและมิตรสหายซึ่งเป็นนักรบร่วมศึกสงครามกับท่านอยู่มิได้ขาด

ภายหลังเกษียณอายุราชการ ท่านทราบข่าวว่าลูกน้องเก่าของท่านได้ตั้งตัวเป็นโจรอยู่บนป่า เขาใหญ่และถากถางป่าจนโล่งเตียน ท่านจึงร่วมมือกับทางราชการในการเจรจาเกลี้ยกล่อม และปราบปรามโจรผู้ร้าย ทั้งนี้ด้วยความชํานาญในการใช้ปืนบนหลังม้าและ ความคุ้นเคยกับ ภูมิประเทศในแถบนี้เป็นอย่างดี จึงทําให้สามารถทลายซ่องโจรทั้งหลายได้สําเร็จ จนเป็นที่ เลื่องลือและความเคารพยําเกรงของชาวบ้านโดยรอบเขาใหญ่ ปลัดจ่าง สิ้นชีวิตลงด้วยพิษ ไข้ป่า ขณะอายุ 75 ปี ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งศาลเพียงตาไว้ที่ใต้ต้นกระบกใหญ่บนเชิงเขา ใกล้กับโรงเรียนวัดหนองเอี่ยม จังหวัดนครนายก โดยชาวบ้านต่างเรียกขานศาลนี้ว่า “ศาลเจ้าพ่อปลัดจ่าง”

รู้หรือไม่.. ศาลเจ้าพ่อ สร้างเมื่อไหร่?

ต่อมา ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการสํารวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าเขาใหญ่ ขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และมีการสร้างถนนธนะรัชต์ ขึ้นไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เกิดนิมิตฝันถึงเจ้าผู้คุ้มครองสรรพสัตว์และป่าเขาใหญ่ จึงได้สั่งให้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อขึ้นบริเวณกิโลเมตรที่ 23 ของถนนธนะรัชต์ และได้อัญเชิญดวงวิญญาณของปลัดจ่างมาสถิตไว้ พร้อมเรียกนามสถานที่แห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่” ในวันที่ 26 มกราคมของทุกปี จะมีการบวงสรวงเจ้าพ่อเขาใหญ่ เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่าน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวันครบรอบการอัญเชิญดวงวิญญาณ มาสถิตยังศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่

ถนนธนะรัชต์

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ดําริให้สร้างทางหลวงแผ่นดินสายปากช่อง - เขาใหญ่ ชื่อว่า “ถนนธนะรัชต์” เพื่อเป็นเส้นทางสําหรับขึ้นไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และไปจนสุดที่นํ้าตกเหวสุวัต รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกอบพิธีเปิดอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ พร้อมกับถนนธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2505 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ถนนธนะรัชต์ได้ขยายเส้นทาง โดยมีการตัดถนนสายปราจีนบุรี – เขาใหญ่ สําหรับเป็นเส้น ทางจากกรุงเทพฯ มาถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้นขึ้น

pavilion pavilion
map
ดงพญาเย็น มาจากไหน

ดินแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า ดงสามเส้า แนวเขตแดนกั้นระหว่างอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรเขมร

ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มีพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง เพื่อรักษาพระราชไมตรีเมื่อครั้งที่พระเจ้าฟ้างุ้มทรงขยายดินแดนลงมายังบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ความว่า “เฮาหากเป็นพี่น้องกันมาตั้งแต่ขุนบรมพุ้นดาย เจ้าอยากได้บ้านได้เมือง ให้เจ้าเอาแต่เขตแดนดงสามเส้า (ดงพญาไฟ) เมือเท่าพูพะยาผ่อ (ภูพญาพ่อเมืองชัยภูมิ) และแดนเมืองนะคอนไท (เมืองนครไทย พิษณุโลก) เป็นเจ้าท้อน” (หนังสือประวัติศาสตร์ลาว : มหาสิลา วีระวงศ์)

เรื่องเล่าที่ถูกกล่าวขานของผืนป่าดงพญาไฟ หรือดงพระยาไฟป่าดงดิบที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่า สัตว์ร้าย และอาถรรพ์อันลี้ลับ ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องตายบนผืนป่าดงพญาไฟแห่งนี้ ผืนป่าดงดิบหนาทึบและภูมิประเทศอันแสนทุรกันดารที่ยากต่อการเดินทางผ่าน ทำให้เกิดเรื่องเล่ามากมาย ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ย่างกรายเข้ามาในดินแดนอันน่าสะพรึงกลัวนี้

ไข้ป่า เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยล้มตายมากที่สุดของผู้ที่เดินทางผ่านดงพญาไฟ อันเป็นผลมาจาก “ไข้มาลาเรีย” หรือ “ไข้จับสั่น” ที่ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่นและตัวร้อนดั่งไฟเผา การทำงานของอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมลง เริ่มหมดสติ ปวดบวมน้ำ ไตล้มเหลว และตายในที่สุด
สัตว์ร้าย ป่าแห่งนี้ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าดุร้าย แม้ในยามค่ำคืนที่ต้องพักแรมในป่าก็ต้องคอยสุมกองไฟและจัดเวรยามไว้ตลอดคืน เพื่อคอยเฝ้าระวังสัตว์ร้ายและต้องคอยเติมฟืนอยู่ตลอดไม่ให้ไฟมอดดับ เพราะหากว่ากองไฟมอดดับลง ก็อาจจะกลายเป็นเป้าหมายของสัตว์ร้ายเหล่านั้น
อาถรรพ์ลี้ลับ ความลึกลับของป่าแห่งนี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงความลี้ลับมาอย่างยาวนาน ทั้งเรื่องราวของเจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวดา ภูตผีวิญญาณ และเสือสมิง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบัน ผืนป่าแห่งนี้จะลดความน่าหวาดกลัวลงมากแล้ว แต่เรื่องราวอาถรรพ์ลี้ลับของดงพญาไฟก็ยังคงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจวบจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ไม่ว่าดงพญาไฟจะมีเรื่องเล่าของความน่าสะพรึงกลัวเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นเส้นทางที่สำคัญต่อการสัญจรไปมาอย่างยิ่ง ทั้งการเดินทัพและการเดินทางค้าขายระหว่างชุมชนจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ภาคกลาง) กับชุมชนในเขตที่ราบสูงโคราช (ภาคอีสาน) ที่แม้ว่าจะมีหลากหลายเส้นทาง อันได้แก่ เส้นทางข้ามแนวเขาสันกำแพงทางเมืองชัยบาดาล ผ่านช่องดงพญากลาง และเส้นทางข้ามแนวเขาพนมดงรักจากเมืองปราจีนบุรี ผ่านช่องสะแกราด ช่องบุขนุน ช่องตะโก แต่เส้นทางผ่านดงพญาไฟก็ยังเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมที่สุด เป็นเส้นทางที่มีระยะทางใกล้ที่สุด และก็เป็นเส้นทางที่อันตรายมากที่สุดเช่นกัน

ในปี พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปราชการเมืองนครราชสีมา เพื่อทรงสำรวจการตั้งเมืองนครราชสีมา ให้เป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งของสยาม ทรงพระราชดำริว่า ดงพญาไฟมีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ไม่มีช่วงเวลาไหนที่อากาศร้อนเลย ไม่ควรเรียกว่าพระยาไฟให้คนครั่นคร้าม จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอเปลี่ยนนามใหม่ว่า “ดงพญาเย็น”

ดงพญาไฟเป็นเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญในสมัยอยุธยา ในปี พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้ใช้เส้นทางนี้ เพื่อขยายพระราชอำนาจและปราบปรามอิทธิพลของอาณาจักรกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงยกกองทัพผ่านดงพญาไฟเพื่อไปตีกรุงละแวก และในปี พ.ศ. 2136 ก็ทรงยกกองทัพ ไปปราบพระยาละแวกกษัตริย์ของอาณาจักรกัมพูชา อีกครั้งหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกกองทัพกรุงธนบุรีผ่านทางดงพญาไฟขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา เพื่อทำสงครามปราบปรามจลาจลของชุมนุมเจ้าพิมาย เมื่อครั้งเจ้าพิมายตั้งต้นเป็นอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ปราบกบฏเวียงจันทร์ ในปี พ.ศ.2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นแม่ทัพใหญ่สยาม ยกกองทัพหลวงผ่านดงพญาไฟเพื่อไปสมทบกับกองทัพหน้าและทัพหลังที่เมืองนครราชสีมา ก่อนที่จะยกกองทัพเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์ได้สำเร็จ

เขาดงพญาไฟ คือเทือกเขาอันเป็นเขื่อนของแผ่นดิน กล่าวกันมาแต่โบราณว่า พื้นเมืองนครราชสีมา สูงกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 7 ลำตาล เมื่อทำแผนที่ปรากฏว่า พื้นที่เมืองนครราชสีมาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 185 เมตร ดูก็ไม่ห่างไกลกับคำโบราณนัก (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

ระหว่างจังหวัดสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมา แต่โบราณไปได้แต่โดยเดินเท้า ... ต้องค้างในดงพญาไฟ 2 คืน จึงจะพ้นดง
(สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

ข้าพเจ้ายืนอยู่ตรงปากประตูสู่นรก นี่คือสำนวนที่คนลาวและสยามกล่าวขวัญถึงป่าดงดิบแห่งนี้
(อ็องรี มูโอต์)

ดงพญาไฟเป็นเส้นทางการค้านับแต่ในอดีตระหว่างชุมชนจากลุ่มน้ำเจ้าพระยากับชุมชนในเขตที่ราบสูงโคราช โดยจะเดินทางเป็นกองคาราวานสินค้า เพื่อช่วยเหลือป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากสัตว์ร้ายและโจรปล้นสะดม และดงพญาไฟยังเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของ “นายฮ้อย” ที่มีอาชีพการค้าขายโค - กระบือ และกวาดต้อนไปขายตามหมู่บ้านต่าง ๆ หรือกวาดต้อนนำไปขายยังตลาดนัดโค-กระบือ ซึ่งจะใช้วิธีการเดินเท้าและใช้วัวเทียมเกวียนในการขนสัมภาระ โดยจะเดินทางจากหมู่บ้านต่าง ๆ มายังเมืองนครราชสีมา ผ่านดงพญาไฟ ก่อนที่จะลงไปขายยังพื้นที่ราบในจังหวัดสระบุรี
“ถึงทางแยกมรคาพญาไฟ
แยกหนึ่งไปพญากลางเป็นทางสอง
ท่านเจ้าคุณการุณไพร่ด้วยใจปอง
ได้ตรึกตรองไว้แต่เดิมเมื่อเริ่มมา
เพราะเห็นว่าวลาหกตกไม่ห่าง
จะไปทางพญาไฟเกรงไข้ป่า
ด้วยทางดงพญาเย็นเป็นระอา
กลัวโยธาเดินทางจะวางวาย”
(นิราศหนองคาย)
รถไฟ รถไฟ
เขาใหญ่ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์
เขาใหญ่ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์

เมืองนครราชสีมา เป็นหัวเมืองหน้าด่านสำคัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์สำหรับการปกครองพระราชอาณาเขตด้านตะวันออก และ ยังเป็นตลาดศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ที่มาจากหัวเมืองตะวันออกบริเวณลุ่มน้ำโขง กับสินค้าที่ถูกส่งไปจากกรุงเทพฯ จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ มายังเมืองนครราชสีมา เป็นสายแรกของอาณาจักรสยาม

ในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟ สังกัดกระทรวงโยธาธิการ พร้อมกับเปิดประมูลการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยว่าจ้างมิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ เป็นผู้สร้างทางรถไฟ และได้เสด็จพระราชดำเนิน เร่งทรงประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์สร้างทางรถไฟ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434

การก่อสร้างทางรถไฟในช่วงระยะแรก ดำเนินการด้วยความเรียบร้อย จนถึงปี พ.ศ. 2438 การก่อสร้างเริ่มประสบปัญหาในช่วงระยะทางผ่านดงพญาไฟ วิศวกรและคนงานต่างป่วยด้วยไข้ป่า และล้มตายเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟ ไปทอดพระเนตรการก่อสร้างและทรงประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าป่าเจ้าเขา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เพื่อให้การก่อสร้างทางรถไฟสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น และโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟดำเนินการก่อสร้างต่อไปถึงเมืองนครราชสีมาจนแล้วเสร็จ รวมระยะทาง 265 กิโลเมตร เป็นเงิน 17,585,000 บาท

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้ ยังพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นยูคาลิปตัสป้องกันไข้ป่า (โรคมาลาเรีย) ในบริเวณสองข้างทางรถไฟ ตามคำแนะนำของแพทย์ฝรั่ง ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่เข้ามาในประเทศสยามในช่วงเวลาดังกล่าว

และในวันที่ 21 ธันวาคม 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการเดินรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีนครราชสีมา

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อสร้างทางรถไฟแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสดงพญาไฟและสถานที่สำคัญแห่งอื่นๆ ในเขตเมืองนครราชสีมา ซึ่งการเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีนครราชสีมา ใช้เวลาราว 10 ชั่วโมง

“...ข้าพเจ้าแหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆเป็นจำนวนมาก
แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร
ที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น...”
(The Rainmaking Story : พระราชบันทึกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 14 พฤศจิกายน 2498)
ฝนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย
ฝนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 โดยในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่านเทือกเขาภูพาน ทรงสังเกตว่ามีปริมาณเมฆปกคลุมเหนือพื้นที่ แต่กลับไม่สามารถรวมตัว จนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่อยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ประชาชนได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อน เกษตรกรขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรเป็นอย่างมาก จึงทรงศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งสงเคราะห์แก่พสกนิกร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” (Artificial rain) และพระราชทานแนวคิด “ทำให้เมฆรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝน” ซึ่งได้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้า

เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยการปฏิบัติการฝนหลวงเลือกพื้นที่อุทยานเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองบริเวณอุทยานเขาใหญ่ อันเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้

โครงการพระราชดำริฝนหลวง ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” พร้อมทั้งกำหนดให้ วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

การทำฝนหลวง
เมฆ เมฆ เมฆ เมฆ
ขั้นที่ 1 ก่อกวน
ทำให้เมฆลอยตัวรวมกลุ่มเป็นเมฆฝน
โดยใช้โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
การทำฝนหลวง
ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน
เติมแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl)
เพื่อให้เมฆเกิดการขยายตัว
การทำฝนหลวง
ขั้นที่ 3 โจมตี
มี 3 แบบ แบบเมฆอุ่น แบบเมฆเย็น
และแบบควบคู่กัน ทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็น
การทำฝนหลวง
เขาใหญ่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
เมฆ
king
เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป
พระราชปณิธานรัชกาลที่ 10
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศ์ รวมทั้งสิ้นกว่า 5,151 โครงการ โดยพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีโครงการพระราชดำริด้านแหล่งน้ำ ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมอาชีพ ด้านคมนาคมและการสื่อสาร และการพัฒนาแบบบูรณาการ รวม 55 โครงการ (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) : ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2565)

จากพระปฐมบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้สะท้อนถึงพระราชปณิธาน และพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่น ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์
ตลอดช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ทั้งในที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ รวมถึงการปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์และพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์จนเป็นที่ประจักษ์เสมอมา อันเป็นรากฐานสำคัญของพระราชปณิธาน และพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่น ที่จะทรงงานเพื่อความผาสุกและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่อาณาประชาราษฎร์
เมฆ
เที่ยวโคราชใน 1 วัน